วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สร้างความสดชื่น



การดำเนินชีวิตในปัจจุบันที่ต้องเผชิญกับภารกิจต่างๆ มากมาย ตั้งแต่ตื่นนอนอย่างงัวเงีย เดินทางไปเรียนหรือไปทำงาน ความกดดันจากหน้าที่ที่รับผิดชอบ ความเครียดจากสังคมโดยรอบ และความอ่อนล้าจากการใช้ชีวิต สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่บั่นทอนพลังชีวิตของพวกเราให้อ่อนเปลี้ย เพลียแรง ไม่สดใส เพื่อเรียกคืนความสดชื่นให้กลับคืนมา วันนี้ผมมีวิธีง่ายๆ แต่ได้ผลเป็นอย่างดียิ่งมาฝากกันครับ
เริ่มจากอาหาร ควรรับประทานอาหารจำพวกผัก ผลไม้ และดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 6 – 8 แก้ว หรือมากกว่านั้น เพราะในผักและผลไม้มีน้ำตาลฟลุ๊กโตสที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ในทันที ตลอดจนยังอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระ รวมไปทั้งการดื่มน้ำอย่างเพียงพอจะช่วยให้เซลล์และอวัยวะในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ และช่วยในการขับของเสียได้อีกด้วย
จากนั้นคือการออกกำลังกาย เป็นที่ทราบกันดีว่าการออกกำลังกายถือเป็นยาอายุวัฒนะ ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงเท่านั้น ทุกๆ ครั้งที่ออกกำลังกาย ยังช่วยให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขออกมาอีกด้วย จึงไม่แปลกที่เวลาเหงื่ออออกนิดๆ จะรู้สึกสดชื่นขึ้นมาในทันที
การพักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ร่างกายสดชื่นได้ เพราะร่างกายได้รับการพักผ่อน ฟื้นฟู และซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยธรรมชาติอย่างเต็มที่ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า มนุษย์ควรได้รับนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง หรือหากทำไม่ได้ ควรจะหลับลึกให้ได้อย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง ก็พอจะช่วยได้ครับ
นอกจากนี้ การรู้จักปล่อยวาง มองโลกในแง่ดี ยิ้มรับกับทุกวิกฤติปัญหา ก็ถือเป็นวิธีการสร้างความสดชื่นอีกวิธีการหนึ่งได้เป็นอย่างดี ซึ่งวิธีการดังกล่าวไม่เพียงแต่จะช่วยให้เราสดชื่น สดใสเท่านั้น หากแต่ยังให้ผู้ที่พบเห็นพลอยสดชื่นตามเราไปด้วย

24 ชั่วโมงที่หายไป



บุคคลที่พบว่ามี 24 ชั่วโมง หรือ วันเต็ม หายไปในห้วงกาลเวลาคือ ฮาโรลด์ ฮิลล์ ประธานของบริษัท เคอร์ทิสเอนจิน ในเมืองบัลติมอร์ รัฐแมรี่แลนด์
ฮาโรลด์ยังเป็นที่ปรึกษาของโครงการ อวกาศด้วย ฮาโรลด์กล่าวว่าสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดสิ่งหนึ่ง ที่พระเจ้าทรงกระทำท่ามกลางมนุษย์ กำลังเป็น สิ่งที่บรรดานักอวกาศและนักวิทยาศาสตร์ในเมือง กรีนเบลท์ รัฐแมรี่แลนด์เผชิญอยู่
เรื่องนี้เกิดขึ้น ในขณะที่พวกเขากำลังค้นหาตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ต่างๆในอีก 100 ปี และ 1000ปีข้างหน้า ซึ่งการค้นหาตำแหน่งเหล่านี้ จำเป็นจะต้องมีการกำหนดวงโคจรที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมาเสียก่อน พวกเขาใช้คอมพิวเตอร์คำนวณค่าโดย ให้มันคำนวณทั้งแบบเดินหน้าและถอยหลังตลอด ทุกศตวรรษ
แต่ผลปรากฏว่าเมื่อคอมพิวเตอร์คำนวณ มาถึงจุดหนึ่ง มันกลับหยุดชะงักไปเฉยๆไม่ยอม ทำงานต่อ โดยแสดงผลบนจอว่ามีบางสิ่งผิดพลาด ซึ่งอาจเกี่ยวเนื่องจากข้อมูลที่ป้อนเข้าไป หรือผลลัพธ์ที่ คำนวณได้ขัดแย้งกับมาตรฐานที่ควรจะเป็น พวกเขารีบแจ้งกลับไปที่หน่วยบริการขอให้ช่วยตรวจสอบดู แต่ก็ไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆทั้งสิ้น พวกเขาจึงลอง คำนวณอีก แต่ไม่ว่าจะออกคำสั่งสักกี่ครั้ง คอมพิวเตอร์ก็ยังรวนและแสดงผลว่ามีสิ่งขัดแย้ง กันเกิดขึ้น นั่นก็คือ มีวันหนึ่งหายไปในห้วงอวกาศในอดีตกาลที่ผ่านมา
พวกนักวิทยาศาสตร์ถึงกับตะลึง หาคำอธิบายไม่ได้ และไม่อาจคิดหาเหตุผลใดมาตอบ ภายหลังมีคนหนึ่งในทีมงานนึกถึง ข้อความบางตอนในพระคัมภีร์ที่อ้างเกี่ยวกับ ดวงอาทิตย์หยุดนิ่ง พวกเขาตรวจสอบดูก็พบว่า ข้อความตอนนี้อยู่ในพระธรรมโยชูวา แต่ข้อความ ที่บันทึกนั้นช่างน่าขบขันสำหรับคนที่มีสามัญสำนึก ข้อพระคัมภีร์ตอนนี้พูดถึงเหตุการณ์ตอนที่โยชูวา พูดกับพระเจ้าขอให้ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์หยุดนิ่ง เพื่อให้คนอิสราเอลได้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า และให้รู้ว่าพระเจ้าทรงต่อสู้เพื่ออิสราเอล ผลปรากฏว่า "…ดวงอาทิตย์ หยุดนิ่งอยู่กลางท้องฟ้าหาได้รีบตก ไปตามเวลาประมาณวันหนึ่งไม่" (โยชูวา 10:13) และนี่ก็คือ สาเหตุของวันที่หายไป! พวกเขาจึงตรวจสอบอีก โดยให้ คอมพิวเตอร์คำนวณย้อนกลับไปสู่ช่วงเวลาที่ เกิดเหตุการณ์นั้น และพวกเขาก็พบว่ามีเวลาหายไป ในช่วงนั้นจริงๆ แต่ไม่ถึง 24 ชั่วโมง จำนวนเวลาที่หาย ไปในสมัยของโยชูวาในวันที่เกิดเหตุการณ์นั้น เป็นเพียงแค่ 23 ชั่วโมง 20นาที ซึ่งไม่อาจนับเป็นเวลา วันเต็ม พวกเขาจึงต้องกลับไปอ่านข้อพระคัมภีร์นั้น ซ้ำอีกครั้ง และพบว่าพระคัมภีร์เพียงแต่ระบุจำนวน เวลาคร่าวๆ คือ "….ประมาณวันหนึ่ง"
แต่ถึงแม้ พระคัมภีร์จะบันทึกอย่างนั้น มันก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะทำให้พวกเขายอมรับเวลาที่หายไปอีกถึง 40นาทีได้ พวกเขาจำเป็นต้องหา 40 นาทีนี้ให้พบ เพราะการ คำนวณหาวงโคจรเฉพาะจุดจะต้องอาศัยการคูณทบ หลายครั้ง แล้วคนในทีมงานก็จำได้อีกว่า พระคัมภีร์ เคยบันทึกเรื่องดวงอาทิตย์เดินถอยหลังไว้ด้วย ในพระธรรม พงศ์กษัตริย์ บทที่ 20 บันทึกเรื่องนี้ว่า ขณะที่กษัตริย์เฮเซคียาห์กำลังรอความตายอยู่บน แท่นบรรทมนั้น ผู้เผยพระวจนะอิสยาห์มาเยี่ยม พระองค์ และทูลว่าพระองค์จะไม่สิ้นพระชนม์ กษัตริย์เฮเซคียาห์ไม่ทรงเชื่อท่าน พระองค์ขอให้ท่าน แสดงหมายสำคัญเพื่อพิสูจน์ อิสยาห์จึงทูลว่า "จะให้เงา(ดวงอาทิตย์)คืบหน้าไปสิบขั้นหรือย้อน กลับมาสิบขั้น" กษัตริย์เฮเซคียาห์ตรัสตอบว่า "เป็นการง่ายที่เงา(ดวงอาทิตย์)จะยาวออกไปอีกสิบขั้น แต่ให้เงาย้อนกลับมาสิบขั้นต่างหาก" (2พงศ์กษัตริย์ 20:9-10) "สิบขั้น"
ที่พระคัมภีร์ตอนนี้กล่าวถึง ที่จริงก็คือเวลา 40 นาทีนั่นเอง ! เวลา 23 ชั่วโมง 20 นาที ในพระธรรม โยชูวา บวกกับ เวลา 40 นาที ในพระธรรม พงศ์กษัตริย์ มีค่าเท่ากับ 24 ชั่วโมง นี่คือเวลา 24 ชั่วโมงที่หายไป ซึ่งผู้เดินทางในอวกาศทุกคนจะต้อง รู้เรื่องเวลาที่หายไปถึง วันเต็มๆในห้วงจักรวาลนี้  

ย่างอย่างให้ไกลมะเร็ง


ย่างอย่างให้ไกลมะเร็ง 

  อาหารปิ้งย่างในสังคมปัจจุบันดูจะเป็นที่ชื่นชมของใครหลายๆคน แต่ก็รู้กันดีว่าเถ้าสีดำที่เกาะอยู่บนอาหารที่มาจากการย่างก่ออันตรายต่อสุขภาพ หรือเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้ แต่ถึงกระนั้นด้วยความหอม ความอร่อย ก็คงยากจะตัดใจจากอาหารปิ้งย่าง

      มีวิธีการย่างจากสถาบันวิจัยโรคมะเร็งอเมริกันมาฝาก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง เพื่อดำรงภาวะที่ดีของสุขภาพได้

Preparation
      • เตรียมน้ำหมักสุขภาพที่มีมะนาวหรือไวน์ และสมุนไพรอย่างพริกไทยเป็นเครื่องปรุง ความจริง น้ำหมักสุขภาพนี้อาจมีส่วนผสมหลากหลายแบบตามความชอบ แต่ถ้าจะให้ดีต่อสุขภาพมากๆ ควรใช้ซอสถั่วเหลืองเป็นส่วนผสมหลัก โดยเพิ่มความหวานด้วยน้ำผึ้ง
      • เนื้อสัตว์ที่นำมาย่าง ควรเป็นปลา อาหารทะเลอื่นๆ เห็ด และเต้าหู้เท่านั้น

Grilling
      • พยายามตัดเล็มส่วนที่เป็นไขมันออกจากเนื้อสัตว์ก่อนวางบนเตา
      • ใช้ไฟต่ำ
      • วางเนื้อสัตว์ลงตรงกลางเตา เพื่อให้สุกง่ายและทั่วถึง

Serving
      • เสิร์ฟพร้อมผักต่างๆ ทุกครั้ง ผักที่ใช้ควรมีทั้งสุกและสด ไม่ว่าจะเป็นกระหล่ำสีต่างๆ แตงกวา มะเขือเทศ แครอท และอื่นๆ โดยเป็นผักที่แน่ใจว่าปลอดภัยจากสารเคมีและยาฆ่าแมลง

       ลองเริ่มปรับเปลี่ยนวิธีการย่างให้เป็นไปตามที่แนะนำ นอกจากสร้างนิสัยรักสุขภาพ แล้ว ยังช่วยให้สมาชิกในครอบครัวปลอดภัยจากโรคร้ายได้ด้วย

วันเข้าพรรษา



"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระจำเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้
     โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา 
     การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์
     การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ
     แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง 
     ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำ ทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูป เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็น การกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา ๓ เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมี การแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้านนั้น
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา
   ๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
   ๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิษุสามเณร
   ๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
   ๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ

วันลอยกระทง




ประวัติการลอยกระทงในเมืองไทย 

          การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคมเป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา

วันเด็กแห่งชาติ


ประวัติความเป็นมาของวันเด็กแห่งชาติ

    วันเด็กแห่งชาติมีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ


     ทั้งนี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ สำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข


     งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 จากนั้นเป็นต้นมา ราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยจัดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ ด้วยเหตุผลว่า เดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทย เป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้


     ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 ว่า ควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ที่มีความเหมาะสมและสะดวกมากกว่า ตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา ส่งผลให้ในปี 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติจึงเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน